วิสัยทัศน์
เป็นแหล่งความรู้อ้างอิงทางวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีผลงานทั้งด้านวิชาการและทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

พันธกิจ
1. วิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
2. พัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
3. ให้บริการวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพแก่สังคม

ประวัติสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์


      เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่สามารถแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรได้โดยเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเพื่อนำไปสู่ผลผลิตทางการแพทย์ เช่น การผลิตอินซูลิน  ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น การผลิตผงชูรส  ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย  ผลผลิตทางด้านพลังงานทดแทน  เช่น แอลกอฮอล์  และอื่น ๆ  เทคโนโลยีชีวภาพจึงกลายเป็นความหวังของมนุษย์ในการเป็นต้นบทของอุตสาหกรรมในอนาคต ประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งมาก ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการนำมาแปรรูปด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคา เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าภายในประเทศและยังสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้ด้วย เทคโนโลยีชีวภาพจึงมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและการเสียดุลการค้าของประเทศดีขึ้นได้

scan0001
scan0003

รองศาสตราจารย์ ดร. นลิน  นิลอุบล (สุภาพสตรีในชุดสีม่วงทางซ้ายมือ) เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพข้างต้น  และการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต้องอาศัยนักวิจัยหลายด้าน คือ จุลชีววิทยา  ชีวเคมี  วิศวกรรมเคมี  วิศวกรรมพันธุศาสตร์  และเคมีร่วมกัน  เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาถึงขั้นการผลิตในอุตสาหกรรมได้  ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการต่อเนื่องมีความคาบเกี่ยวระหว่างสาขาวิชาที่จะเป็นแกนหลักในการดำเนินงานของแต่ละขั้นตอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่รวมของนักวิชาการที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์สูงในสาขาต่างๆ อย่างครบถ้วนที่จะทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2526 จึงเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ขึ้น 
             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาประเทศ ประกอบกับมีความพร้อมด้านบุคลากร สภามหาวิทยาลัยจึงอนุมัติให้จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ขึ้น  เมื่อวันที่  29 กันยายน  2526  โดยเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ขึ้นตรงต่อฝ่ายวิจัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น  เพื่อรับผิดชอบภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต่อมาตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่  5 มีนาคม  2529  และประกาศในราชกิจจานุเบกษา  
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529  โดยมีเหตุผลในประกาศจัดตั้งสถาบันฯ  คือ “ประเทศไทยมีผลิตผลทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก เทคโนโลยีชีวภาพและเทคนิคทางวิศวกรรมพันธุศาสตร์  ซึ่งมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมแปรรูปวัตถุดิบที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น  จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง  สมควรจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เพื่อเป็นแหล่งระดมนักวิจัยในสาขาต่างๆ ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ได้มาร่วมกันทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ  และเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนในสาขาวิชาดังกล่าว ตลอดจนให้บริการทางด้านนี้แก่สถานศึกษาอื่น ๆ ด้วย”

DSC 8307

ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์” สืบเนื่องจากการปรับโครงสร้างส่วนงานของมหาวิทยาลัยตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์  2556 โดยมีภาระหน้าที่ในการวิจัย การสนับสนุนการจัดการศึกษา และการบริการทางวิชาการเฉพาะประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภาระหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

  • การผลิตกรดจิบเบอเรลลิก ( Gibberellic Acid ) จากเชื้อรา Gibberella fujikurol ซึ่งสามารถพัฒนากระบวนการผลิตและการสกัดกรดจิบเบอเรลลิก รวมถึงการขึ้นรูปจนสามารถผลิตออกจำหน่ายในชื่อการค้า CU-Gib ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรกำจัดหอยเชอร์รี่จากกากเม็ดชาซึ่งสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการและผลิตจำหน่ายในชื่อการค้า CU-1
  • กระบวนการผลิตเมล็ดแมงลักปราศจากสารอัลฟลาอกซิล
  • การพัฒนากระบวนการสารสะกัดเปลาโนทอลจากใบเปล้าน้อย
  • การผลิตสารสกัดจากยีสต์จากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเบียร์และแอลกอฮอล์
  • การพัฒนาสารทำเครื่องหมายน้ำมันเชื้อเพลิงจากเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ได้
  • การพัฒนาอาหารเสริมของพืช ปุ๋ยธาตุอาหาร ที่ชื่อว่า CU-Trece E ได้ผลิตในระดับกลาง

บริการวิชาการในกลุ่มงานวิจัย

บริการวิชาการในกลุ่มวิจัย เทคโนโลยีการหมัก

  • บริการให้เช่าเครื่องเขย่าแบบควบคุมอุณหภูมิ (Incubator shaker) บริการให้เช่าถังหมัก (Fermentor) ห้องทดลองขนาด 5 ลิตร 10 ลิตร
  • บริการให้เช่าเครื่องเขย่าแบบควบคุมอุณหภูมิ (Incubator shaker) บริการให้เช่าถังหมัก (Fermentor) ขนาดกลาง pilot 30 ลิตร 90 ลิตร และ 300 ลิตร

บริการวิชาการในกลุ่มวิจัย เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร

  • การหากรดไขมันองค์ประกอบ (fatty acid profile) ของลิพิด
  • การหาปริมาณไขมันในตัวอย่างชีวมวล
  • การวิเคราะห์คุณภาพของน้ำมันพืชใช้แล้ว
  • การวิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจน/โปรตีนทั้งหมด

 เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่สามารถแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรได้โดยเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเพื่อนำไปสู่ผลผลิตทางด้านต่างๆ ได้แก่ผลผลิตทางการแพทย์ เช่น การผลิตอินซูลิน  – ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น การผลิตผงปรุงแต่งรสอาหาร  – ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย  – ผลผลิตทางด้านพลังงาทดแทน  เช่น แอลกอฮอล์  และอื่น ๆ  เทคโนโลยีชีวภาพจึงกลายเป็นความหวังของมนุษย์ในการเป็นต้นบทของอุตสาหกรรมในอนาคต ประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งมาก ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการนำมาแปรรูปด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคา เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าภายในประเทศและยังสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้ด้วย เทคโนโลยีชีวภาพจึงมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและการเสียดุลการค้าของประเทศดีขึ้นได้ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธูศาสตร์ ภายใต้หน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งเริ่มจากงานวิจัย และได้ร่วมสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลิตบัณฑิตระดับ ปริญญาเอก-โท และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาที่สนใจในวิชาด้านนี้ สถาบันฯได้ปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดเวลา ได้พัฒนาผลงานออกสู่สังคมมากมาย เช่น การผลิตกรดจิบเบอเรลลิค จากเชื้อราจนสามารถพัฒนาแปรรูปออกจำหน่ายได้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ เป็นต้น ปัจจุบันงานวิจัยเด่นของสถาบันที่ผ่านมา ได้จัดแยกเป็นกลุ่มวิจัยออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ

          1. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology)
          2. กลุ่มวิจัยการผลิตแอนติบอดี (Antibody Production)
          3. กลุ่มวิจัยโปรตีนและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ (Protein and Genetic Engineering)
          4. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร (Argricultural Technology)

การจัดการความรู้ (KM) ประจำปีงบประมาณ 2564

1. KM1/2564 แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในการทำวิจัย โดยคุณอุมาพร พิมพิทักษ์ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2563

2. KM2/2564 การใช้บริการส่วนบุคคลทาง Fiori โดยคุณปิยะ พิทยาวัฒน์ ณ วันที่ 22 กันยายน 2564


งานวิจัย =>>
การบรรยาย : โครงการชุมชนคาร์บอนต่ำ อาหารปลอดสารพิษ พิชิตความยากจน รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 1 วันที่ 1-25 ตุลาคม 2564
Green energy kitchen for low-carbon community and non-toxic food


ชมวิดีโออื่นๆ ทาง Youtube – IBGE-CU CHANNEL

หอเกียรติยศสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพฯ

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา  ทองจุล  รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 28 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี   ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2559 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 7 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Congratulations to Assistant Professor Siriluk Teeradakorn, Ph.D.
for Best oral presentation award of Microbiology and Biochemistry session in 5th International Conference on Biotechnology and Agriculture Engineering (ICBAE 2019) Tokyo, Japan, March 26-29, 2019

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ คุณอณุมาศ บัวเขียว ที่ได้รับรางวัลบุคลากรด้านความปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2564 จากศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยhttps://www.shecu.chula.ac.th/home/content.asp?Cnt=636

สถาบันฯ ขอแสดงความยินดี กับ ดร.สุดเขต ไชโย ที่ได้รับรางวัล “นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่” ประจำปี 2564 จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา  ทองจุลและรองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ  กาญจนทัต รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 9 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข   ในวันจันทร์ที่ 3  ตุลาคม 2559   ณ อาคารสถาบัน 2 ชั้น 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หอเกียรติยศสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพฯ

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา  ทองจุล  รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 28 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี   ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2559 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 7 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Congratulations to Assistant Professor Siriluk Teeradakorn, Ph.D.
for Best oral presentation award of Microbiology and Biochemistry session in 5th International Conference on Biotechnology and Agriculture Engineering (ICBAE 2019) Tokyo, Japan, March 26-29, 2019

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ คุณอณุมาศ บัวเขียว ที่ได้รับรางวัลบุคลากรด้านความปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2564 จากศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยhttps://www.shecu.chula.ac.th/home/content.asp?Cnt=636

สถาบันฯ ขอแสดงความยินดี กับ ดร.สุดเขต ไชโย ที่ได้รับรางวัล “นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่” ประจำปี 2564 จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา  ทองจุลและรองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ  กาญจนทัต รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 9 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข   ในวันจันทร์ที่ 3  ตุลาค